Sunday, December 23, 2012

Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก

อาปาเช่ เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพียงหนึ่งเดียวที่อยู่คู่กับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ทุก ดิสทริบิวชั่นมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เช่นเดียวกับลีนุกซ์เรดแฮทที่ได้รวมเอาโปรแกรมอาปาเช่ไว้ในชุดติดตั้งพร้อม ให้เราใช้งานได้ทันที ไม่ต่างอะไรกับบะหมี่สำเร็จรูป แค่เทน้ำร้อนลงไปก็รับประทานได้ทันที จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะตั้งเครื่องพีซีซักตัวหนึ่งขึ้นเป็น เว็บเซิร์ฟเวอร์ ให้บริการเว็บได้ทั้ง ระบบอินทราเน็ตภายในองค์กร ไปจนถึงจัดตั้งเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลไปทั่วโลก และนี่คืออีกหนึ่งการนำเอาลีนุกซ์มาใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด สำหรับวันนี้ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก ข้อมูลการสำรวจจากเว็บไซต์ทั่วโลกโดย Netcraft เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงจำนวนของอาปาเช่เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีสัดส่วนการใช้งาน สูงกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย จากจุดเริ่มต้นที่อาศัยโค๊ดจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มาตรฐาน NCSA ( องค์กรกลางผู้กำหนดมาตรฐานโปรโตคอล HTTP ,มาตรฐานภาษา HTML และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการบนเว็บทั้งหมด ) พัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยกำลังของชุมชนนักพัฒนาจากทุกมุมโลกผ่านโมเดลการ พัฒนาแบบฟรีซอฟต์แวร์ ภายใต้การกำกับดูแลของ Apache Foundation ( http://www.apache.org ) ทำให้เกิดซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีเสถียรภาพการทำงานที่เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพสูง และแข็งแกร่ง จากซอฟต์แวร์ที่เริ่มต้นจากส่วนประกอบเล็ก ๆ หรือ "patches" จำนวนมากมาย จนทำให้ถูกเรียกขานว่า " a patchy " ผ่านช่วงระยะเวลาของการพัฒนามาถึงสิบปี จนกลายมาเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้มาตรฐาน และได้รับความนิยมสูงสุดในวันนี้ อาปาเช่ยังคงความเป็นฟรีซอฟต์แวร์ไว้อย่างมั่นคง กล่าวได้ว่าถึงวันนี้อาปาเช่เป็นแม่แบบของฟรีซอฟต์แวร์ที่ประสบความสำเร็จ แล้วในโลกของความเป็นจริง และเป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่ก้าวข้ามพ้นอุปสรรคของโมเดลการพัฒนาแบบฟรี ซอฟต์แวร์ได้สำเร็จแล้ว


รูปที่ 1 รายงานผลสำรวจเว็บเซิร์ฟเวอร์จาก NetCraft

สารพัดประโยชน์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ชนิดใดก็ตาม คุณประโยชน์ที่จะได้รับย่อมเป็นสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึง ความหมายสั้น ๆ ของบริการบนเว็บก็คือ มันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเผยแพร่เอกสารข้อมูลไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพราะเพียงแค่ผู้ใช้บริการเปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ( ซึ่งมีติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่อยู่แล้ว ) ก็จะสามารถเข้าถึงเอกสารเว็บได้โดยอ้างชื่อของเว็บไซต์ ต่อจากนั้นก็จะพบกับเอกสารข้อความ สื่อมัลติมีเดีย บริการดาวน์โหลด และกิจกรรมที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟสารพัดได้อย่างง่ายดาย เว็บเซิร์ฟเวอร์จะเป็นศูนย์กลาง หรือจุดเริ่มต้นของการประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณได้อย่าง หลากหลาย เริ่มต้นจากการเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารในองค์กร เปิดให้บริการอีเมล์ผ่านเว็บ ( Web based Mail Services ) รวมไปถึงการใช้งานแอปพลิเคชั่นผ่านเว็บหรือ Web based Application ที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งมีองค์กรเป็นจำนวนมากที่เริ่มหันมาสนใจพัฒนาแอปพลิเคชั่นเฉพาะขององค์กร ในลักษณะเช่นนี้ ทั้งนี้เหตุผลหลักก็คือความต้องการที่จะพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นโดยตั้งอยู่บน ระบบโครงสร้างที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ถูกกำหนด ขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์รายใหญ่นั่นเอง สำหรับองค์กรที่มีขนาดเล็ก และยังขาดความพร้อมในเรื่องที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้งานเอง ก็ยังมีทางเลือกออกอีกมากที่จะนำแอปพลิเคชั่นสำเร็จรูปมาใช้งานร่วมกับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ได้เช่นกัน ซึ่งมีโปรเจคในแบบฟรีซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้เช่นกัน และส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้เป็นอย่างดีกับอาปาเช่ เนื่องจากความแพร่หลายของอาปาเช่ในหมู่นักพัฒนาซอฟต์แวร์นั่นเอง ติดตั้งคอนฟิกแบบเร่งด่วน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าในเรดแฮตลีนุกซ์จะมีโปรแกรมอาปาเช่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชั่น 2.0 ให้มาด้วยแล้ว คุณทราบหรือไม่ว่าขั้นตอนการปลุกให้อาปาเช่ตื่นขึ้นมาทำงานมันเป็นเรื่อง ง่ายยิ่งกว่าการโทรไปสั่งพิซซ่าเสียอีก ถ้าคุณติดตั้งเรดแฮตลีนุกซ์ในแบบเลือกครบทุกแพคเกจ หรือ EveryThing ก็จะมีโปรแกรมนี้พร้อมอยู่แล้วในเครื่องอย่างแน่นอน ซึ่งแพคเกจของโปรแกรมนี้จะชื่อว่า httpd ดังนั้นเราจะลองค้นหาแพคเกจที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้ด้วยคำสั่ง rpm ดังนี้
# rpm -qa | grep http
ถ้ามีแพคเกจนี้เรียบร้อยแล้ว และได้เซ็ตค่าคอนฟิกเกี่ยวกับระบบเครือข่าย TCP/IP แล้ว การสั่งให้อาปาเช่ทำงานจะใช้คำสั่งดังนี้
# service httpd restart
# chkconfig --level 35 httpd on
จะเป็นการสั่งให้บริการของ อาปาเช่ เริ่มทำงานใหม่ ( กรณีที่ไม่เคยเปิดให้บริการมาก่อนจะแจ้ง Fail ขณะ Shutdown จึงถือว่าเป็นเรื่องปรกติ ) ส่วนอีกคำสั่งเป็นการกำหนดให้ อาปาเช่ เริ่มต้นทำงานเองเมื่อเริ่มเปิดเครื่องใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งตัวบริการของอาปาเช่จะคอยให้บริการที่ TCP port หมายเลข 80 และ 443 ( เป็นโปรโตคอล HTTP และ HTTPS ตามลำดับ ) คำสั่ง netstat จะแสดงให้เห็นการทำงานดังกล่าว


รูปที่ 2 ตรวจดูพอร์ตของ Apache

เมื่อเห็นพอร์ต 80 ปรากฏขึ้น แสดงว่าอาปาเช่เริ่มให้บริการแล้ว เมื่อลองเปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เข้ามาที่โฮสต์ที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์นี้ เช่น ถ้าคุณติดตั้งโปรแกรม Mozilla ไว้ในเครื่องแล้วก็เรียกไปที่ http://localhost ก็จะเห็นหน้า Test Page ที่เรดแฮตสร้างไว้ให้ดังรูปที่ 2 เห็นมั๊ยครับแค่พิมพ์คำสั่งไม่กี่ครั้งก็ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์เริ่มทำงาน แล้ว


ที่ 3 หน้า Test Page ของอาปาเช่

0 comments:

Post a Comment

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More